โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดพระงาม (สามัคคีพิทยา) หน้าแรก
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ฉบับปรับปรุงแก้ไข2566
แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง    
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย    
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์    
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    
4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม    
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา    
6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ    
7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ    
8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ    
       
       คณะอนุกรรมการด้านคุณภาพและเทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ใน กพฐ. และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ดำเนินการตามมติ กพฐ. จัดกลุ่มตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6ได้ดังนี้
1) จำนวนตัวชี้วัดทั้งสิ้น 2,056 ตัวชี้วัด สามารถจำแนกเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง 1,285 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด ทั้งนี้ จำนวนตัวชี้วัดยังคงครบถ้วน และผู้เรียนมีคุณภาพตามที่หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนด
2) ตัวชี้วัดปลายทางเป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ส่วนตัวชี้วัดระหว่างทางเป็นตัวชี้วัดระหว่างการจัดการเรียนรู้
3) จำนวนตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
4) ตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถอธิบายภาพความสำเร็จของผู้เรียนได้ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของตัวชี้วัด
5) กิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ
(1) จัดทำแนวปฏิบัติเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน
(2) จัดทำตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
(3) สื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ
การคัดสรรตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทาง
1. เป็นการคัดสรรตัวชี้วัดสำคัญซึ่งสะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้หลักที่จะใช้ในการวัดและประเมินผลเพื่อลดภาระของครูและนักเรียนในการวัดและประเมิน โดยไม่เสียคุณภาพ
2. จำนวนตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระไม่ได้สะท้อนความสำคัญของกลุ่มสาระ
3. จำนวนตัวชี้วัดจะขึ้นกับธรรมชาติของกลุ่มสาระนั้นๆ เป็นสำคัญ
4. จำนวนตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัดนี้ สามารถอธิบายความสำเร็จของผู้เรียนในการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างเพียงพอ

แนวทางในการนำตัวชี้วัดปลายทางไปใช้
1. สพฐ. กำหนดแนวทางในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้ตัวชี้วัดปลายทางในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และแต่ละระดับชั้น
2. ครูประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ โดย ใช้ตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด
3. ตัวชี้วัดที่เหลือซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง ให้ครูใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยอาจมีการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก แต่ไม่ต้องนำไปรวมเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้นั้นจะใช้มโนทัศน์ของการประเมินเพื่อพัฒนา (Assessment for Learning) เป็นหลัก โดยเน้นการให้ผลป้อนกลับที่มีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาผู้เรียนที่มากพอ (Constructive Feedback) โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ

       
       
       
Tessaban ๑ Watpargham School 2008 . All rights reserved . Best view with 1024*768 Screen Display Resolution
? 2008[sns] Corporation. All rights reserved.